วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

27/09/56 (ครั้งที่16)
   
   ในสัปดาห์นี้มีการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย อาจารย์โบว์ ได้ให้นักศึกษาทุกคนประมวลความรู้ ความคิด ทั้งหมดที่ได้เรียนมา และให้ทำเป็นมายแมพ หรือแผนผังความคิดของแต่ละคน
     ความรู้ที่ดิฉันได้รู้เรียนรู้เพิ่มขึ้นในวิชาเพิ่มขึ้น เช่น
1.ทำให้ได้รู้ความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม ที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก จะต้องส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวของเด็กเอง
2.ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อสารมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
3.สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ของเด็กจะต้องประกอบด้วยความหลากหลายทั้งทางด้านวาจา และไม่ใช่วาจา
4.ได้เรียนรู้การจัดมุมประสบการณ์ที่ดีควรเป็นอย่างไร เช่น ควรมีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรม,ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย,เด็กต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
5.ได้ศึกษามุมต่างๆภายในห้องเรียน เช่น มุมหนังสือ,มุมบทบาทสมมุติ,มุมศิลปะ,มุมดนตรี




วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

20/09/56 (ครั้งที่15)

       ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ ให้นักศึกษาดูวิดีโอโทรทัศน์ครู ที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดประกบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็กปฐมวัย ของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย แล้วจากนั้น อ.โบว์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ช่วยกันระดมความคิดให้ทำแผนการจัดประสบการณ์มาคนละ 1 เรื่อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำเรื่อง ดอกทานตะวัน จุดประสงค์เพื่อให้เด็กได้รู้จักส่วนต่างๆของดอกทานตะวัน 




แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง ดอกทานตะวันแสนสวย

ชื่อ ดอกทานตะวันแสนสวย
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ส่วนต่างๆของดอกทานตะวัน
สาระ ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัว
ขั้นตอน 1.ร้องเพลงดอกทานตะวันแสนสวย
            2.ดูภาพดอกทานตะวันแสนสวย
            3.แลกเปลี่ยนความรู้เก่า
            4.ครูให้ความรู้ใหม่
            5.ให้เด็กเล่นเกมนับดอกทานตะวัน
ประเมิน  การสังเกต บันทึกพฤติการของเด็ก 

องค์ความรู้ที่ได้รับ
   ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการสอยฃนภาษาสำหรับเด็กมาขึ้น เพราะเด็กไม่ได้เรียนรู้จากการท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่จะให้เด็กเรียนรู้จากคำที่เกี่ยวข้องกับเด็กในชีวิตประจำวัน และเข้าใจสิ่งต่างๆจากรูปธรรม สิ่งต่างๆใกล้ตัว จากที่เด็กสนใจเพราะจะทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น เพราะพื้นฐานนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ครบถ้วนที่พร้อมจะก้าวไปสู่ในระดับประถมศึกษาที่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

13/09/56 (ครั้งที่14)
    
       ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนการออกแบบ มุมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใครห้องเรียน ว่ามีมุมอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น มุมบล็อค มุมศิลปะ มุมบทบาทสมมุติ  เพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และได้ใช้ทักษะต่างๆรวมถึงการอยู่ร่วมกันในกลุ่มเพื่อนทำให้เด็กเข้ากับเพื่อนได้ง่าย กล้าที่จะแสดงออก รวมถึงยังช่วยพัฒนาทักษาะทางภาษาของเด็กในการพูด การอ่าน และการเขียนอีกด้วย เพื่ที่เด็กจะได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนตามวัย       เหตุผลที่ทำมุมการเรียนรู้ บทบาทสมมุติก็เพื่อให้ได้ฝึกทักษะการพูดโต้ตอบกันกับเพื่อนในบทบาทของตนเอง และยังทำให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตนเอง ส่วนมุมสิลปะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการอ่าน การพูด และการเขียน การพูดเช่นการเล่นนิทานหน้าชั้นเรียนของเด็ก การอ่าน ก็อย่างเช่นฟังนิทานจากคุยครู การเขียน เช่นการทำศิลปะสร้างสรรค์


ภาพกิจกรรมออกแบบมุมการศึกษา

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า(08.30-12.20น.)

06/09/56 (ครั้งที่14)

     ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนทักษะทางภาษาในการเขียนเบื้องต้น คือการคัดไทยจากตัวอย่าง ก-ฮ ที่อาจารย์เตรียมไว้ให้เป็นตัวหนังสือหัวเหลี่ยม ซึ่งเป็นการเสริมทักษาะขั้นพื้นฐาน ของการเป็นครูที่ดีในอนาคต เพราะการเป็นครูปฐมวัยลายมือถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เด็กจะจดจำตัวหนังสือจากบุคคลใกล้ตัว ซึ่งก็คือครู ถ้าครูมีลายมือแบบไหนเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะมีลายมือที่คล้ายคลึงกับครูที่เด็กเรียนมา



ภาพกิจกรรมการคัดลายมือ


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า(08.30-12.20 น.)

30/08/56 (ครั้งที่12)

         ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนการทำสื่อที่ช่วยในการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย เหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้จะแตกต่างจากครั้งก่อน คือ อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5-7 คน ช่วยกันคิดสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเกมถอดรหัสคำ ช่วยให้เด็กได้สังเกตคำและเชื่อมโยงคำจากภาพ ทำให้เด็กได้ฝึกการคิด และการใช้เหตุผล ซึ่งเกมนี้จะสอดคล้องกับทฤษฎีของ บรูเนอร์ ที่ว่าการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการเชื่อมโยงความคิด หรือเรียกว่า ขั้น Iconic stage อยู่ในช่วงอายุ 4-6 ปี



ภาพกิจกรรมการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย



วันศุกร์เช้า(08.30-12.20)

23/08/56 (ครั้งที่11)

  ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนการทำสื่อที่ช่วยในการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งช่วยให้เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมือในการระบายสี และฝึกการเขียนคำจากการระบายสีตัวอักษร สามารถนำไปใช่เป็นสื่อการสอนตามมุมสำหรับเด็กปฐมวัย และยังประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการจัดทำอีกด้วย


ภาพกิจกรรมการทำสื่อตั้งโต๊ะ





วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20 น.)

16/08/56 (ครั้งที่10)

        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้อาจารย์พิเศษมาสอนสื่อแทน ซึ่งอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน  แล้วทำสื่อ  สื่อที่มำในวันนี้คือ หุ่นนิ้วมือ  ป๊อบอั๊บ  ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องของประเทศในอาเซียนเพื่อให้เด็กๆได้รู้จัก 10 ประเทศในอาเซียน

ภาพกิจกรรมทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ กับ ป๊อบอั๊บ 









- ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ได้ความรู้จากการทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ และ การทำป๊อบอั๊บ ซึ่งมีวิธีการทำที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามความคิดของแต่ละคน ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำ สามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันในการ เล่านิทานให้เด็กๆฟัง นอกจากนี้ยังบอกถึงธงชาติของ 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งทำให้เด็กสามารถรู้จักประเทศต่างๆได้มากขึ้น

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20 น.)

9/08/56 (ครั้งที่9)

ในสัปดาห์นี้ อาจารย์เปิด Blogger ของนักศึกษาทุกคนและบอกข้อบกพร่องให้แก้ใข 
    ให้เพื่อนในห้องเสนอความคิดเห็นว่าของเพื่อนแต่ละคนมีข้อบกพร่องควรกลับไปปรับปรุงแก้ไขส่วนไหนบ้าง เช่น

- ชื่อบล็อกต้องเป็นภาษาอังกฤษ
     - มีคำอธิบายบล็อกว่าเกี่ยวกับอะไร
  นอกจากนี้ อาจารย์สอนร้องเพลง  เพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      - เวลาร้องเพลง จะต้องให้เด็กพูดตามก่อน เพื่อเด็กจะได้รู้เนื้อร้องที่ถูกต้องจากนั้นก็ให้รองตามทีละวรรค เพลงสำหรับเด็กควรจะสั้นๆ  จำง่าย แล้วก็ใช้คำซ้ำๆ 
  
                         เพลง สวัสดี (ประเทศไทย)
 สวัสดี  สวัสดี                    ยินดีที่พบกัน
  เธอและฉัน                       พบกันสวัสดี
นอกจากนี้เรายังสามารถเปลี่ยนจากคำว่าสวัสดี ของไทยเป็นของภาษาอื่นได้  เช่น
หนีห่าว               ประเทศสิงค์โปร
 สะบายดี              ประเทศลาว 
ซาลามัดดาตัง     ประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน 
กูมูสตา               ประเทศฟิลิปปินส์     
 มิงกะลาบา          ประเทศพม่า   
 ซินจ้าว                ประเทศเวียดนาม 
จุมเรียบซัว           ประเทศกัมพูชา 
เซลามัดปากิ         ประเทศอินโดนีเซีย



 เพลง   Hello
 Hello       Hello            Hello! How are you?
 I'm fine   I'm fine         I hope that you are too.

  แปล
สวัสดี       สวัสดี                   สวัสดี สบายดีหรือ
ฉันสบายดี ฉันสบายดี            ฉันหวังว่าเธอคงจะสบายดี

 เพลง ตบแผละ
ตบแผละ  ตบแผละ  ตบแผละ   ปากใจตรงกันนั้นแหละ
 เรามาลองฝึกกัน                     จิต  กาย  สัมพันธ์กับปากนั้นแหละ

  เพลง บอกว่าน่ารักจัง
บอกกับคนซ้ายมือ                ว่าน่ารักจัง
บอกกับคนขวามือ                ว่าน่ารักจัง  (ซ้ำ 1 รอบ)
บอกกับเพื่อนทุกคน              ทุกๆคน
บอกกับเพื่อนทุกคน              ไม่เว้นสักคน
บอกกับเพื่อนทุกคน              ทุกคน
บอกว่าน่ารักจัง

  เพลง ตา หู จมูก
 ตา  หู  จมูก  จับให้ถูก           จับ  จมูก  ตา  หู
 จับใหม่จับให้ฉันดู                 จับใหม่จับให้ฉันดู
 จับ  จมูก  ตา  หู                   จับ  หู  ตา  จมูก
   เพลง แปรงฟัน
 แปรง  ซิ  แปรง  แปรง  ฟัน       ฟัน  หนู  สวย  สะอาด  ดี
  แปรงขึ้น แปรงลงทุกซี่             สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน

   เพลง แมงมุมลายตัวนั้น

  แมงมุมลายตัวนั้น                   ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
  วันหนึ่งมันเปียกฝน                 ไหลลงจากบนหลังคา
  พระอาทิตย์ส่องแสง               ฝนแห้งเหือดไปลับตา
  มันรีบไต่ขึ้นฝา                       หันหลังมาทำตาลุกวาว


 เพลงเก็บของ
เก็บ เก็บ เก็บ                         มาช่วยกันเก็บของที
  เร็วคนดี                                 มาเก็บของเข้าที่กันเอย
 เพลง อย่าทิ้งต้องเก็บ
อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง         ทิ้งแล้วจะสกปรก
  ถ้าเราเห็นมันรก                      ต้องเก็บ  ต้องเก็บ  ต้องเก็บ

  เพลง บ้านของฉัน

  บ้านของฉัน                           อยู่ด้วยกันมากหลาย
 คุณพ่อ  คุณแม่                      ปู่  ย่า  ตา  ยาย
  อีกทั้งน้าอา                           พี่และน้องมากมาย
 ทุกคนสุขสบาย                      เราเป็นพี่น้องกัน

  เพลง ขอบคุณ ขอบใจ

 น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ    เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ
  เพลง ตาดู หูฟัง
 เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
 คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
  เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู

วัตถุประสงค์ของเพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 1.เพื่อให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ
 2.เพื่อให้เด็กจำภาษาได้ดีขึ้นและได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ
 3.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในเคลื่อนไหวร่างกายประกอยจังหวะ เช่น การเต้น การรำ
  4.พื่อส่งเสริมพันาการทางด้านภาษา 









 ถอดรหัสคำ

 - เพื่อสอดแสรกคำศัพย์ให้เด็กจำคำต่างๆได้ง่ายขึ้น

   - เพื่อให้เด็กได้คิดตามอย่างไม่น่าเบื่อ
   - สร้างแรงจูงใจให้แก่เด็ก


 1.


 แว่น - ตา

 2.


 ปู - นา


งานกลุ่ม แปลงเพลง

  เพลง เป็ด
  ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ        ลูกเป็ดอาบน้ำในคลอง
 ตาก็จ้องแลมอง      เพราะในคลองมีหอยปูปลา

   แปลงเป็น  เพลงไก่
  กุ๊ก กุ๊ก กุ๊ก                          แม่ไก่ลุกขึ้นจากรัง
 ขุ้ยเขี่ยอยู่เพียงลำพัง       ลูกออกจากรังเดินหาแม่ไก่





วันศุกร์เช้า (08.30-12.20 น.)

2/08/56 (ครั้งที่8)

 สอบกลางภาคเรียน 1 ปีการศึกษา2556





วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20 น.)

26/07/56 (ครั้งที่7)
 
      การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์จะพูดถึงพัฒนาทางภาษาของเด็กแต่ละช่วงวัย ซึ่งจะแบ่งพัฒนาการของเด็กตามขั้นบันได ได้แก่ เด็กแรกเกิดจนถึง 2ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กยังไม่มีการพัฒนามากนัก จนกระทั่งเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี ซึ่งในช่วงจะแบ่งย่อยๆออกเป็น 2ขั้น ก็คือพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4ปี และ อายุ 4-6ปี เด็กในวัยนี้จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ค่อนข้างดีขึ้นมาก เด็กจะมีการคิดแบบใช้เหตุผลมากขึ้น ที่เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์ นอกจากนี้ เสียงเพลงยังช่วยให้เด็กได้พัฒนา ทางด้านภาษาและประสาทสัมผัสอีกด้วย ยกตัวอย่างเพลงกล่อมเด็ก เช่น

เพลง เจ้าเนื้อเย็น
เจ้าเนื้อเย็นเอย     หนีแม่ไปเล่นหาดทราย
น้ำขึ้นมา               มันจะพาเจ้าลอบหายดวงใจของแม่เอย
  ซึ่งเป็นเพลงกล่อมเด็กของภาคกลาง มีการร้องสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเรื่อยๆมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ พัฒนาการยังหมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กที่เป็นไปตามช่วงวัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการแบบขั้นบันได ซึ่งมีอายุเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของเด็ก

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20 น.)

19/07/56 (ครั้งที่6)

ในสัปดาห์นี้ ไม่มีเนื้อหาการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ได้ตรวจความคืบหน้าของบล็อคแต่ละคนคนในชั้นเรียนว่ามีความคืบหน้าไปถึงแล้ว และได้บอกแนวทางการปรับปรุงแก้ไขบล็อคของแต่ละคนว่าใครขาด อะไรตรงไหนบ้าง และให้กลับไปแก้ไข

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

12/07/56 (ครั้งที่5)

    การเรียนในคา่บนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่แบ่งกลุ่มไว้ โดยกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 2-4ปี ซึ่งทำให้ดิฉันได้ศึกษาพัฒนาการ และเรียนรู้การพัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ดิฉันยังได้เรียนรู้ในเรื่องของ ทฤษฎีสภาวะติดตัวโดยกำเนิด จากกลุ่มของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ ทฤษฎีนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยกำเนิดจากการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนว่าเราควรพูดแนะนำตัวอย่างไร และออกเสียงอย่างไรถึงจะถูกต้องและเหมาะสม ได้ฝึกการทำกิจกรรมในชั้นเรียน เช่นกิจกรรมเล่านิทาน ร้องเพลง ประชาสัมพันธ์ เล่าข่าว และพูดโน้มน้าวใจผู้อื่น ซึ่งทุกกิจกรรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี



วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

5/07/56 (ครั้งที่4)

      การเรียนในคา่บนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่แบ่งกลุ่มไว้คราวที่แล้ว ในครั้งนี้ได้มีการนำเสนองานทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่1 นำเสนอเรื่อง ความหมายของภาษา ก็คือ ภาษาสามารถแยกออกได้เป็น อรรถภาษา คือ ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารต่างๆ และปริยาภาษา คือ ใช้ภาษาเชิงเปรียบเทียบ และในเรื่องของระเบียบแบบแผน ความรู้ความเข้าใจ ส่วนความสำคัญทางภาษา ภษาเป็นเครื่องมืที่ใช้ในการเรียนรู้ สร้างความผูกพันธ์ของคนในชาติ เป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ ซึ่งมีระบบแบบแผน และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ
กลุ่มที่2 นำเสนอเรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งนำเสนอนักทฤษฎีมา 2 ท่าน คือเพียเจต์ และบรูเนอร์
เพียเจต์  ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม และการถ่ายทอดทางสังคม ได้แบ่งขั้นของพัฒนาการออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ 
1.ขั้นประสาทรับรู้และเคลื่อนไหว 
2.ขั้นก่อนปฎิบัติการ
3.ขั้นปฎิบัติการรูปธรรม
4.ขั้นปฎิบัตการนามธรรม
บรูเนอร์   ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ได้แบ่งขั้นของพัฒนาการออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ 
1.ขั้นเรียนรู้โดยการกระทำ
2.ขั้นเรียนรู้จากภาพและจินตนาการ
3.ขั้นเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
 กลุ่มที่5 นำเสนอเรื่องพัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา โดยเด็กวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตของสมองอย่างเต็มที่ พัฒนาการทางด้านความคิดสติปัญญาเป็นไปอย่างรวดเร็วสามารถเข้าใจเรื่องที่เป็นนามธรรมได้ มีความคิดกว้างไกล พยายามแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มีจินตนาการมาก มีความเชื่อมั่นในความคิดของตนอย่างมาก 
กลุ่มที่10 นำเสนอเรื่องหลักการจัประสบการณ์ทางภาษา โดยจะแบ่งเป็น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และกิจกรรมที่เสริมการเรียนรู้
  ซึ่งการนำเสนองานในครั้งนี้ของแต่ละกลุ่ม ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตในอนาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถทำให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็ก และสามารถรับรู้ความต้องการของเด็กแต่ละคนได้



วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

28/06/56 (ครั้งที่3)

      ในคาบนี้ไม่มีการจัดการเรียนการสอนเนื่องจาก ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้มีการจัดกิจกรรมรับน้อง ของทางมหาวิทยาลัยขึ้น ดิฉันก็เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรับน้องของ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย ในครั้งนี้ด้วย



วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

21/06/56 (ครั้งที่2)

           การเรียนการสอนในคาบนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4คน ให้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ซึ่งแต่ละกลุ่มได้ศึกษาพัฒนาการที่แตกต่างกัน กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายงานให้ไปศึกษา เรื่งพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 2-4 ปี ซึ่งพวกเราก็ได้ไปศึกษาพฤติกรรมของเด็กที่ โรงเรียนอนุบาลคหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มของพวกเราก็ได้ไปสังเกตพฤติกรรมต่างๆของเด็ก เช่น การเล่น การเรียน และการทำกิจกรรม ต่างๆซึ่งทำให้ได้รับความรู้ในครั้งนี้จากประสบการณ์ตรงและเป็นประโยชน์อย่างมาก




วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า (08.30-12.20น.)

14/06/56 (ครั้งที่1) 

            การเรียนการสอนในคาบนี้อาจารย์ได้อธิบายรายวิชาและชี้แจงเรื่องการแต่งกายเราควรแต่งกายอย่างไรให้ถูกระเบียบนอกนี้อาจารย์ยังได้สอนในเรื่องของการทำแฟ้มสะสมผลงาน แต่เป็นการทำลงในบล็อกเกอร์ ซึ่งสะดวกต่อการเปิดหาข้อมูล รวมทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลา ในการจัดทำแฟ้มงาน สะดวกในการติดต่อต่อกับผู้อื่น